1 win casino1win aviatormosbetmosbet casinopin-upmostbet aviator login1 winmostbet1 win azpin up casino1winmosbetpin up bettingparimatchlacky jet4era betmostbet casinoparimatchpin up azerbaijanlucky jet casino1win slot4rabet mirror1 win casinoluckyjet1wınmosbetaviator4rabet bangladesh1 winpin up az1win onlinepin up indialucky jetmostbet azmostbetpin up kz1win1win casino1win saytimostbet aviatorlucky jetmostbetmostbet onlinepinup loginpin uppin up1win login4r betmosbet indiamostbet azaviator mostbet

6ข้อเสนอแนะคุมโควิดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เสนอโดย TDRI สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

“ภาคการก่อสร้างมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีการพึ่งพาแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก หากปราศจากการบริหารจัดการที่ดีแล้ว มาตรการปิดแคมป์อาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิดได้ และจะส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว” 
จึงมีการเสนอมาตรการระยะสั้น 1.ปิดแคมป์ด้วยหลัก 4 อ (อาหาร อาการ อาศัย และอาชีพ) เพื่อให้สามารถยับยั้งการระบาดอย่างได้ผล ให้คนงานสามารถอยู่ในแคมป์ได้ตลอดระยะเวลากักตัว ดังนั้น จำเป็นต้องมีการจัดสรรพื้นที่ในแคมป์ให้เหมาะสม

“คนงานไม่ว่าสัญชาติใด และมีสถานะอย่างไร จำเป็นต้องได้รับอาหารที่เพียงพอและมีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและสามารถต้านทานเชื้อไวรัสได้ หรือหากติดเชื้อ ก็มีอาการไม่หนักจนต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล” และต้องมีการตรวจหาเชื้อเพื่อคัดกรองเชิงรุกอย่างทั่วถึง หากพบเชื้อก็ต้องแยกตัวออก และหากมีอาการที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ก็ควรมีพื้นที่รักษาที่มีเครื่องมือพร้อมและเข้าถึงได้ตลอดเวลา ส่วนของที่พักอาศัยต้องลดความแออัดและโอกาสในการแพร่เชื้อ และที่สำคัญคือต้องให้สามารถประกอบอาชีพได้ หรือต้องมีเงินชดเชยการขาดรายได้ในอัตราที่เหมาะสมระหว่างที่ถูกปิดแคมป์ มิเช่นนั้นแล้วอาจไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนย้ายออกนอกแคมป์ได้
2.ไม่ใช้มาตรการเหมาโหล (one-size-fits-all)โดยแคมป์คนงานแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 

(1)แคมป์ที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่ค่อนข้างดีกว่าประเภทอื่น เช่น ที่พักทำจากตู้คอนเทนเนอร์ คนงานในกลุ่มนี้น่าจะสามารถทำงานต่อไปได้ตามหลัก 4อ ข้างต้น เพราะคนงานส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานที่มีสุขภาพแข็งแรง แม้จะติดเชื้อก็ยังทำงานได้ตามปกติ แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าคนงานที่เริ่มมีอาการมากต้องให้หยุดงานและแยกตัวออกมาจากแคมป์ หรือแยกที่อยู่ภายในแคมป์ (รวมทั้งสมาชิกครอบครัวที่มีอาการหนักด้วย) เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของนายจ้างโดยตรง แต่รัฐควรให้บริการด้านการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน

(2) แคมป์ชั่วคราวของผู้รับเหมาที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างที่มักเป็นเพิงสังกะสี หากนายจ้างได้ปรับปรุงสภาพที่พักอาศัยและจัดให้มีส่วนพยาบาลแล้ว ก็ควรให้ทำงานต่อได้ตามหลัก 4อ เช่นกัน และมีเงื่อนไขเรื่องแยกตัวคนงานที่ป่วยหนัก/สมาชิกครอบครัว ออกจากการอยู่อาศัยรวมกับผู้อื่น และ 

(3) แคมป์นอกพื้นที่ก่อสร้างของผู้รับเหมาช่วงหรือผู้รับเหมารายย่อยซึ่งแรงงานจะมาทำงานแบบเช้าไปเย็นกลับ แรงงานกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อในชุมชนที่พักอาศัย อาจพิจารณาโมเดล Bubble & Sealed สำหรับแรงงานที่พำนักในชุมชน

“เงื่อนไขสำคัญ คือ นายจ้างและผู้รับเหมาต้องทำข้อตกลงร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ ศบค. ว่าจะดำเนินการป้องกันมิให้คนงานก่อสร้างในสังกัดและครอบครัวติดต่อพบปะกับบุคคลในชุมชน” โดยมีมาตรการติดตามและควบคุมการเดินทาง เช่น รายงานตัวด้วย QR Code และมีรถรับส่งระหว่างที่พักและเขตก่อสร้าง มีข้าวและน้ำแจกเพียงพอกลับไปให้ครอบครัวในที่พักเพื่อไม่ให้แรงงานต้องแวะที่อื่น เงื่อนไขเหล่านี้ต้องปฏิบัติได้จริง โดยมีบทลงโทษต่อนายจ้างและลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อตกลง

3.ทบทวนการชดเชย แรงงานข้ามชาติที่นายจ้างนำส่งเงินสมทบประกันสังคมไม่ต่ำกว่า 6 เดือน จะได้รับเงินช่วยเหลือ 50% เช่นเดียวกับแรงงานไทย แต่แรงงานข้ามชาติร้อยละ 70 ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม หรือบางส่วนก็ยังสมทบไม่ถึงเกณฑ์จึงไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับการชดเชย หรือแรงงานที่ได้รับเงินชดเชย 50% แรงงานเหล่านี้ล้วนแต่มีแรงจูงใจที่จะออกไปหางานทำที่อื่นเพราะจะมีรายได้จากการทำงานมากกว่าค่าชดเชยหากมีการปิดแคมป์และหยุดทำงาน
ดังนั้น จึงควรให้แรงงานที่ไม่ติดเชื้อสามารถทำงานและรับค่าจ้างได้ โดยจัดการตามหลัก 4อ และ Bubble & Sealed ข้างต้น และให้เงินชดเชยกับแรงงานที่ตรวจพบเชื้อทุกคนไม่ว่าสัญชาติใดและมีสถานะใด เพื่อไม่ให้ออกจากพื้นที่ควบคุม โดยรัฐบาลอาจพิจารณานำเงินจากกองทุนเพื่อการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 77

(3) หรือเพิ่มอำนาจของนายกรัฐมนตรีในการรักษาการ พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว หรือแก้ไข พ.ร.ก. ให้อำนาจในการนำเงินกองทุนฯ ดังกล่าวมาช่วยเยียวยาแรงงาน

4.ผ่อนผันการจับกุม แรงงานข้ามชาติจำนวนมากต้องเผชิญกับผลกระทบทางเศรษฐกิจของโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้สถานประกอบการหลายแห่งปิดตัว ประกอบกับสถานการณ์การเมืองในเมียนมา และนโยบายปราบปรามแรงงานผิดกฎหมายในมาเลเซีย ทำให้แรงงานบางส่วนไม่สามารถเดินทางออกจากประเทศไทย หลายคนต้องเปลี่ยนนายจ้าง กลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายและหลุดออกจากระบบ ดังนั้นภาครัฐควรผ่อนผันเรื่องการจับกุม เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้เข้าสู่ระบบพร้อมการตรวจโรค ซื้อประกันสุขภาพ และทำใบอนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย
แต่มาตรการผ่อนผันและเปิดโอกาสให้เข้าสู่ระบบต้องทำด้วยความรัดกุม ไม่ให้นำไปสู่การเกิดวัฏจักรการลักลอบเข้าเมือง-จับกุม-ผ่อนผัน แบบเป็นวงจรไม่สิ้นสุด ดังนั้น รัฐบาลต้องมีนโยบายชัดเจนเรื่องการนำเข้าแรงงานที่สะดวกและไม่เกิดค่าใช้จ่ายนอกระบบที่สูงมากแบบทุกวันนี้ โดยการปรับกฎเกณฑ์ในการอนุญาตนำเข้าแรงงานข้ามชาติ ควบคู่กับการเอาจริงกับการป้องกันการลักลอบเข้าเมือง
5.สื่อสารทำความเข้าใจ เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะปัจจุบันแรงงานข้ามชาติจำนวนมากไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่รัฐ โดยมองว่าต้องการจับกุมหรือแสวงหาประโยชน์จากพวกเขา ภาครัฐจำเป็นต้องมีการปรับปรุงการสื่อสาร ทั้งในแง่ภาษาที่เป็นมิตรและเข้าใจง่าย และการกระจายข่าวให้ทั่วถึงโดยการใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารของแรงงานข้ามชาติและองค์กรภาคประชาสังคม รวมทั้งการทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนให้เข้าใจตรงกัน
และ 6.วัคซีนสำหรับทุกคน แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยส่วนมากทำงานมักอยู่ในงานที่มักต้องสัมผัสกับผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้า ไม่สามารถทำงานที่บ้าน (Work from Home) ได้ การฉีดวัคซีนเพื่อให้ได้ภูมิคุ้มกันหมู่จึงจำเป็นต้องรวมแรงงานข้ามชาติเช่นกันทั้งนี้ อาจพิจารณาให้วัคซีนตามประเภทงานที่มีความเสี่ยงมากก่อนประเภท นอกจากนี้ แรงงานข้ามชาติที่อยู่ในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 ควรได้รับการจัดสรรวัคซีนดังเช่นแรงงานไทย ซึ่งรัฐบาลอาจอำนวยความสะดวกในการจัดสรรวัคซีน และแบกรับค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งร่วมกับผู้ประกอบการ ซึ่งน่าจะพร้อมออกค่าวัคซีนเพื่อให้กิจการของตนกลับมาดำเนินตามปกติได้โดยเร็ว

หมายเหตุ : อ่านบทความ (ฉบับเต็ม) ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกได้ที่เว็บไซต์ tdri.or.th หมวด “ประเด็นวิจัย-โควิด-19” ในชื่อบทความ “มาตรการเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19” วันที่6 ก.ค. 2564
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
Download บทความนี้เต็มๆได้ที่ :

มาตรการเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19