1 win casino1win aviatormosbetmosbet casinopin-upmostbet aviator login1 winmostbet1 win azpin up casino1winmosbetpin up bettingparimatchlacky jet4era betmostbet casinoparimatchpin up azerbaijanlucky jet casino1win slot4rabet mirror1 win casinoluckyjet1wınmosbetaviator4rabet bangladesh1 winpin up az1win onlinepin up indialucky jetmostbet azmostbetpin up kz1win1win casino1win saytimostbet aviatorlucky jetmostbetmostbet onlinepinup loginpin uppin up1win login4r betmosbet indiamostbet azaviator mostbet

Lab Room เทคนิคการบริหารงานก่อสร้างสมัยใหม่ สร้างห้องเสมือนจริงก่อนนำไปก่อสร้างจริงลดระยะเวลาก่อสร้าง

“Lab Room” ในความหมายทั่วไปคือ การทดลองผลิต (Pllot Production) ของโรงงาน เพื่อผลิตออกมาเป็นต้นแบบ ก่อนจะทำการ
ผลิตจริงในปริมาณมาก (Mass Production) ในระดับอุตสาหกรรม แต่
“Lab Room” ในโครงการแม่น้ำเรสซิเดนท์ คือ ห้องเสมือนจริง ซึ่งเป็นการจำลองเหตุการณ์การก่อสร้างจริงในทุกขั้นตอนการทำงาน เพื่อจะได้ทราบอัตราการทำงานของคนงานรวมทั้งปริมาณวัสดุและอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในแต่ละกิจกรรมที่สำคัญทำให้คันพบปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในขั้นตอนการทำงานกว่า 100 หัวข้อ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการก่อสร้างอาคารจริง ช่วยให้ผู้รับเหมาลดระยะเวลาในการก่อสร้าง และลด Defect ที่เกิดขึ้น อีกทั้งช่วยให้ผู้ควบคุมงนลดระยะเวลาในการตรวจสอบงาน ทำให้เจ้าของโครงการได้ส่งมอบผลงานที่มีคุณภาพให้ลูกค้าได้เร็วกว่าแผนเดิมที่กำหนตไว้
ในการทำงานของโครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์ จะเริ่มจากการเลือกห้องที่จะทดลองทำในห้อง Lab Room ก่อน ซึ่งเป็นห้องที่มีจำนวนมากที่สุดของโครงการจากนั้นก็คำนวณวลาการทำงานจริงจากไซต์งานข้างบนลงมาจำลองไว้ใน Lab Room ต้านล่าง และวัดประสิทธิภาพการทำงาน โดยแสงฟ้าฯ จะคัดเลือกทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญมาทำงานLab Room เพื่อรับเอาความสามารถพิเศษที่เขาทำได้รวดเร็วมาเป็นตัวอย่างให้ทีมอื่นๆ
นอกจากนี้ในการทำ Lab Room ยังมีการใช้เทคโนโลยีกล้อง Timelapse ซึ่งจะช่วยให้สามารถจับเวลาที่ทำงานแล้วเสร็จจริง และยังเป็นการย่นย่อเวลาการทำงานในแต่ละ Loop ลงเหลือเวลาเพียงไม่กี่นาที
เป็นประโยชน์ให้ผู้คุมงานสามารถสังเกตปัญหาได้
ในการทำ Lab Room โครงการจะมีการจดปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้นมากมายจากงานหลายๆ ส่วนรวมกัน เช่น แบบไม่ดี วัสดุไม่ไต้คุณภาพคนงานไม่ได้คุณภาพหรือแม้กระทั่งเครื่องมือคนงานไม่ได้คุณภาพ เช่นไม้วัตระดับน้ำเพี้ยนก็จะต้องนำมาตรวจสอบและแก้ไข เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีโดยพบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน Lab Roomเกือบ 100ข้อซึ่งสามารถนำไปปรับแก้ในการทำงานก่อนที่จะก่อสร้างอาคารจริง ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงานจริง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการลดระยะเวลาทำงาน เกิด Defect น้อยที่สุด และช่วยให้การตรวจสอบงานง่ายขึ้น และใช้เวลาน้อยลง ที่สำคัญ การนำ Lab Room เข้ามาใช้ในการก่อสร้างนี้ยังช่วยทดสอบแผนงาน Loop Construction ที่ทีมงานได้วางแผนลำดับการทำงานก่อนหลังว่าควรจะปรับปรุงแก้ไขในส่วนใด ทำให้แผนการทำงานตาม Loop Construction ที่โครงการแม่น้ำเรสซิเดนท์วางไว้ได้ตามเป้าประสงค์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานจริงมาก กล่าวคือ เมื่อเกิด
ปัญหาผู้รับเหมาก่อสร้างที่ปรึกษาและเจ้าของโครงการ จะได้เห็นปัญหา
พร้อมกัน เพื่อหาทางแก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น

Loop Construction

โครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์แบ่ง Loop การทำงานออกเป็น 15 Loop แต่ละ Loop มีระยะเวลาการทำงาน 7 วัน ทั้งนี้ได้มีการพูดคุยทำความเข้าใจการทำงานโดยนำงานที่สามารถทำงานร่วมกันได้ใส่ไว้ในแต่ละ Loop เพื่อให้เกิดผลงานที่ดี มีประสิทธิภาพ ไม่ต้องมีการแก้ไขแม้ว่าในช่วงแรกๆของการทำงานหลายคนจะเกิดข้อสงสัยและมีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างทำงาน แต่ก็สามารถนำปัญหาต่างๆ มาพูดคุยและทำความเข้าใจ โดยสามารถปรับทัศนคติ (Mindset) ในการทำงานของทีมงานจนเกิดเป็นการทำงานใหม่ๆที่ทุกคนต้องร่วมกันทำงาน เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีออกมา

หัวใจสำคัญของ Loop Construction คือ 1. การทำงานในแต่ละ Loopจะต้องใช้เวลาเท่ากัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจยึดหยุ่นได้ เช่น แผนงานที่วางไว้ต้องเสร็จภายใน 7 วันจะต้องทำให้เสร็จภายใน 7 วันก่อนที่จะส่งงานให้ Loop ถัดไป จะเลื่อนส่งงานออกไปไม่ได้ เพราะจะไปกระทบการทำงานของ Loop อื่น ทำให้ไม่ตรงตามแผนงานที่วางไว้ 2. ระยะเวลาทำงานที่ตกลงกันต้องทำงานได้จริง การทำงานLoop ละ 7 วัน ได้มีการคำนวณโดยพิจารณาจากความเหมาะสมว่า สามารถทำงานในแต่ละกิจกรรมได้จริง 3. การแบ่งงานออกเป็นแต่ละ Loop จะต้องสอดคล้องกัน โดยที่แต่ละLoop จะต้องลงมาทดสอบการทำงานในห้อง Lab Room ซึ่งถ้าพบว่าไม่สอดคล้องกัน จะได้ปรับแผนได้ 4. การส่งมอบงานให้Loop ถัดไปจะต้องส่งผลงานที่ดีที่สุด ในแต่ละ Loop จะต้องทำงานของตนเองให้ดี เช่นทดสอบการปูกระเบื้องจริงใน ห้อง Lab Room พอทำงานเสร็จก็ต้องเดินตรวจเลย หากปูกระเบื้องผิดก็ต้องรื้อทำใหม่ทำให้งานออกมาดีที่สุด 5. Loop ต้องลงรายละเอียดถึงการตรวจงาน และการซ่อมหลังตรวจงาน ส่วนใหญ่ในแต่ละ Loopจะวางแผนการทำงานให้เสร็จภายใน 6 วันที่เหลืออีก 1 วันจะเป็นการเก็บงาน ช่อมงาน และรักษาความสะอาดก่อนส่งมอบงาน ซึ่งส่วนใหญ่ทุกคนจะต้องทำงานให้ดีที่สุดและต้องแก้งานให้เรียบร้อยตามที่ผู้ควบคุมงานเข้ามาตรวจการทำงานทุกวันอยู่แล้ว

Lab Room กรณีศึกษาโครงการแม่น้ำเรสชิเดนท์

จากประสบการณ์ในการทำ Lab Room ทำให้ได้รับประโยชน์หลายประการด้วยกัน กล่าวคือ

1. ลดเวลาการทำงาน ลตการรอคอยงานติดตั้งผนังสำเร็จรูป (Precast) โดยจัดเตรียมเกลียวเหล็กฝังในช่วงงานพื้นโครงสร้างแท่นการใช้สว่านเจาะฝังพุกเหล็กเพื่อยึดแฝนเพลทสำหรับเชื่อมยึดจุดหิ้วแผ่นใต้พื้นโครงสร้าง ซึ่งใช้แรงงานเท่าเดิม แต่ได้ผลงานมากขึ้น คือ สามารถลดระยะเวลาในการติดตั้งผนังสำเร็จรูป(Pre-cast) ได้เร็วขึ้น
2. ลด Defect ของมุมกระเบื้องห้องน้ำที่ติดตั้งแล้วจากการถูกนั่งร้านกระแทก ในขณะที่คนงานทำการเคลื่อนย้ายนั่งร้าน โดยสร้างอุปกรณ์ที่น้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น ม้านั่งแบบพับได้ ช่วยให้สามารถทำงานได้สะดวกขึ้นลตความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงาน และสามารถลด Defect ได้
3. ปรับปรุงกระบวนการทำงาน ซึ่งลงลึกถึงระดับคนงาน ก่อนเลิกงานจะให้ทีมงานทั้ง3ฝ้ายได้แก่ แสงฟ้าฯ คนงาน และ TACE ได้แสดงความเห็นถึงปัญหาในการทำงานลงบนกระดาษ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะ จากนั้นก็จะนำเอาข้อมูลทุกข้อทั้งเล็กและใหญ่มาแลกเปลี่ยนในการประชุม Lab Room ซึ่งจัดขึ้นทุกสัปดาห์เพื่อหาแนวทางแก้ไข ซึ่งมีทั้งแนวทางแก้ไขแบบง่ายๆเช่นกำชับคนงานจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงแบบ
4. การตรวจสอบงาน โดยทั่วไปทางผู้รับเหมาจะตรวจสอบงานร่วมกับบริษัทที่ปรึกษา โตยมีการกำหนด Fow Chart เบื้องต้นก่อนที่จะเริ่มทำงาน ทำให้พบว่าขั้นตอนการตรวจสอบงานระบบใช้ระยะเวลานานทั้ง2 ฝ่ายจึงได้หารือข้อสรุปร่วมกันออกมาเป็น Fow Chart ใหม่ ซึ่งจะตัดขั้นตอนการรอคอยการตรวจงานระบบ เป็นการตรวจคู่ขนานพร้อมกัน สามารถลดการรอคอยงาน ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น
5. การตรวจสอบตามแผนรายชั่วโมง ซึ่งเป็นการตรวจสอบแบบคู่ขนาน ทำให้ผู้ควบคุมงานสามารถกำหนดได้ว่าจะเข้าตรวจสอบในชั่วโมงใด ช่วยลดระยะเวลาการตรวจสอบได้อย่างมาก จากเดิมที่ต้องรอให้เสร็จทั้งชั้น อีกทั้งยังสามารถ Monitor การทำงานของผู้รับเหมา ได้ด้วยว่าก่อสร้างได้มากน้อยเพียงใด เพื่อที่ผู้ควบคุมงานจะได้เข้าตรวจสอบงานแบบคู่ขนานทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ และก่อสร้างได้รวดเร็วขึ้น

Source : https://www.tace.co.th/new/wp-content/uploads/2019/11/บทความ-Lab-Room-เทคนิคการบริหารงานก่อสร้างสมัยใหม่.pdf