1 win casino1win aviatormosbetmosbet casinopin-upmostbet aviator login1 winmostbet1 win azpin up casino1winmosbetpin up bettingparimatchlacky jet4era betmostbet casinoparimatchpin up azerbaijanlucky jet casino1win slot4rabet mirror1 win casinoluckyjet1wınmosbetaviator4rabet bangladesh1 winpin up az1win onlinepin up indialucky jetmostbet azmostbetpin up kz1win1win casino1win saytimostbet aviatorlucky jetmostbetmostbet onlinepinup loginpin uppin up1win login4r betmosbet indiamostbet azaviator mostbet

100 Companies

บริษัท วิศวกร ที่ปรึกษาต่อตระกูล ยมนาคและคณะ จํากัด (TACE)

ขณะที่ธุรกิจการก่อสร้างกําลังเติบโตอย่างสอดรับกับสภาพ ความเป็นไปของเมือง และวิถีชีวิตของผู้คน ทําให้คอนโดมิเนียม อาคารสํานักงาน ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ระบบขนส่ง สาธารณะ ฯลฯ มีการก่อสร้างอยู่ในแทบทุกมุมเมือง นอกจาก ความทันสมัยความสะดวกสบายจะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต่างใฝ่หาแล้ว ความปลอดภัยจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภัยธรรมชาติ หรือ อุบัติเหตุต่าง ๆ ก็เป็นอีกเรื่องสําคัญที่ทั้งเจ้าของโครงการ และ ผู้เกี่ยวข้องต้องคํานึงถึง วิศวกรที่ปรึกษาผู้มีหน้าที่ให้คําปรึกษา ควบคุม ตรวจสอบการออกแบบ ไปจนถึงการก่อสร้างให้เป็นไปตาม มาตรฐาน จึงเป็นอีกอาชีพที่มีความท้าทาย เพราะความซื่อสัตย์ สุจริต การยืนอยู่บนความถูกต้องและรักษาจรรยาบรรณเท่านั้น ที่จะ ทําให้งานก่อสร้างประสบคช

วามสําเร็จและมีคุณภาพ 

การจะยืนอยู่แถวหน้าในฐานะวิศวกรที่ปรึกษามืออาชีพจึงต้อง ใช้ทั้งฝีมือและระยะเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ตั้งเช่นที่ บริษัท วิศวกร ที่ปรึกษาต่อตระกูล ยมนาคและคณะ จํากัด (TACE) ได้ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2528 รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค ประธานกรรมการ ด้วยอุดมการณ์ของวิศวกรที่ยึดมั่นในจรรยาบรรณ และคุณธรรม โดยบริษัทฯ ได้สั่งสมประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญมาเป็นเวลา กว่า 17 ปี ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นผู้เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของวิศวกรที่ปรึกษาไทย ซึ่งเคยถูกมองว่าทํางานอย่างไม่โปร่งใส เนื่องจากต้อง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผลประโยชน์จํานวนมาก ด้วยการยึดมั่นในความ ถูกต้อง ยุติธรรมและจรรยาบรรณเป็นสิ่งสูงสุดในการดําเนินธุรกิจ 

สําหรับผลงานโดดเด่นและสร้างชื่อให้ TACE ในหลายโครงการ สําคัญของประเทศ อาทิ การบริหารงานก่อสร้างโครงการศูนย์กีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต การพัฒนาโครงการศูนย์การค้า The Gateway ใกล้สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เอกมัย โครงการก่อสร้างอาคาร มูลนิธิโรคไตภูมิราชนครินทร์ ถนนพญาไท โดย TACE ได้รับการคัดเลือก จากคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ให้ควบคุมงานก่อสร้างทั้ง 2 โครงการติดต่อกัน อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โรงแรมศิริปันนา วิลล่า รีสอร์ท แอนด์สปา ฯลฯ ส่วนงานโครงการหลักในปีนี้คืองานด้านการออกแบบและให้คําปรึกษาโครงการก่อสร้างโครงการ“แม่น้ําเรสซิเดนท์”คอนโดมิเนียมระดับพรีเมียม 59 ชั้น ริมแม่น้ำ เจ้าพระยา ตั้งอยู่ถนนเจริญกรุงบริเวณเดียวกับโรงแรมแม่น้ํา รามาดา พลาซ่า สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงามริมแม่น้ําเจ้าพระยา ในรูปแบบพาโนรามา พร้อมการเดินทางที่ใกล้โครงการ Asiatique ของกลุ่มเบียร์ช้าง ตามแผนจะเริ่มเปิดขายในเดือนสิงหาคม 2555 อพาร์ตเมนต์ โรงแรมที่ป่าตองหาดใหญ่ 

รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค ประธานกรรมการ บริษัท วิศวกรที่ปรึกษาต่อตระกูล ยมนาคและคณะ จํากัด (TACE) กล่าวว่า ประเทศไทยมีพัฒนาการในการก่อสร้างเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ จากเต็มที่ยังไม่กล้าก่อสร้างอาคารสูงเกิน 30 ชั้น แต่ปัจจุบันการก่อสร้างอาคารสูง 50-60 ชั้นถือเป็นเรื่องปกติโดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างอาคารสูง จากตึก 15 ชั้นที่เคย สร้างนาน 2 ปี ขณะนี้ตึกสูง 30 ชั้นใช้เวลาทําโครงสร้างเพียง 10 เดือนเท่านั้น แต่ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงในวงการ ก่อสร้างจะเป็นไปได้ช้า เนื่องจากเป็นธรรมชาติของอาชีพ เมื่อ 2,000 ปีก่อนชาวโรมันก่ออิฐ ปัจจุบันเราก็ยังคงก่ออิฐกันอยู่การเปลี่ยนแปลงจึงไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนการเปลี่ยนยานพาหนะจากรถม้ามาเป็นเครื่องบิน หรือจรวด

สําหรับประเทศไทย เมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ต่างประเทศกําลังใช้ระบบสําเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็น Pre-Cast แต่ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะใช้ด้วยปริมาณโครงการก่อสร้าง มีน้อยยังไม่จําเป็นที่จะใช้งานเสร็จเร็วแต่ก็ถือเป็นองค์ความรู้ในต่างประเทศจะใช้แผ่นพื้นสําเร็จรูปขนาดใหญ่ ส่วนเมืองไทย ต้องใช้แผ่นที่สามารถขนย้ายได้ TACE จึง พัฒนาแผ่นพื้นสําเร็จรูป PCM มีลักษณะ เป็นแผ่นกระดาษแบน ๆ ที่ความหนา 5 ซม. ใช้ปูพื้นบ้าน เป็นเทคโนโลยีของคนไทย ซึ่งสมัยนั้นไม่มีการจดลิขสิทธิ์ แต่น่าภูมิใจว่า มีการใช้แพร่หลายทั่วประเทศ จนปัจจุบันใช้ มา 30 ปีแล้ว

 สิ่งที่บริษัทฯ พยายามทําคือ การคิดค้น เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศไทย เช่น การก่อสร้างโดยใช้อิฐมอญก็ควรจะมีการ ปรับเปลี่ยนพัฒนาเพื่อใช้วัสดุอื่นทดแทน เนื่องจากอิฐมอญมีขนาดเล็ก ทําให้ใช้งานยาก และต้องใช้อิฐมอญจํานวนมากในการ ก่อสร้าง นอกจากนั้น ยังต้องใช้พลังงานใน การผลิตค่อนข้างสูง TACE จึงใช้แผ่น ตรา 5 ห่วง ที่บริษัทฯ ออกแบบเองในโรงเรียน ความสูง 4-5 ชั้น โดยเขียนสเปกไว้ไม่ให้ ตึกนี้มีอิฐมอญ สร้างได้เร็ว ใช้เวลาก่อสร้าง เพียง 4-5 เดือน 

สําหรับเมืองไทยเทคโนโลยีที่พัฒนา คือวิธีการก่อด้วยคอนกรีตบล็อกซึ่งมีสลัก สามารถมาวางต่อเหมือนเลโก้ได้ทันทีโดย ไม่ต้องมายาแนว ส่วนวิธีการต่อ แทนที่จะ ต้องเทปูนทีละชั้น สามารถวางแห้งไป 5 ชั้น แล้วนําน้ําปูนกรอก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ เรารับมาจากต่างประเทศ เมื่อ 30-40 ปี ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ประยุกต์ ใช้บล็อกนี้เรียกว่า บล็อกประสาน แต่ไปเน้น ที่การใช้วัสดุราคาถูก สามารถหาได้ในชนบท ใช้ดินกับลูกรัง ใส่ซีเมนต์ 

ส่วนบล็อกที่ TACE พัฒนา นอกจาก รุ่นที่มีรูแล้ว ยังมีรุ่นที่เป็นสลักซึ่งแตกต่าง จากรายอื่นๆ เพราะลดปริมาณวัสดุออก ขณะที่รุ่นใหม่จะเป็นคอนกรีตทั้งหมดมี เดือยง่าย ๆ แต่ข้างในโปร่ง ขณะนี้ยังไม่ได้ มีการนําไปใช้จริง เนื่องจากโครงการต่างๆ TACE ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบโอกาสนําไปใช้ จึงน้อยมาก ตอนนี้ก็มีงานออกแบบเป็น อพาร์ตเมนต์ ที่ทําใช้เองซึ่งใช้เวลาในการ ก่อสร้างที่เร็วมาก 

ด้วยวิวัฒนาการผนวกกับกระแสรับรู้ และความเป็นไปในสังคม การก่อสร้าง ปัจจุบันจึงไม่อาจสร้างแต่สิ่งสวยงามตามใจผู้คนโดยไม่คํานึงถึงสิ่งต่างๆรอบตัวได้อีก จึงจําเป็นต้องทําความรู้ นวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมโยธามาประยุกต์ใช้เพื่อให้การก่อสร้างนับต่อจากนี้สามารถตอบโจทย์ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของโลกพร้อมเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคตให้ได้อีกด้วย 

จากตัวอย่างปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ที่ประเทศไทยต้องเผชิญเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา ส่งผลให้การก่อสร้างในทุกโครงการคิดเรื่อง ป้องกันน้ําท่วม หรือการอยู่อย่างเป็นมิตรกับน้ําท่วมซึ่งหมายถึงว่าแม้จะปล่อยให้ น้ําท่วมแต่ก็ได้รับความเสียหายน้อย บริษัท TACE โดย รศ. ดร.ต่อตระกูล จึงเสนอแนวคิดที่สอดคล้องกันในเรื่องการอยู่ ร่วมกับธรรมชาติ ด้วยการไม่สร้างเมืองใน ที่ต่ําอีกต่อไป รวมถึงการไม่นําที่ดินซึ่งควรใช้เป็นที่เพาะปลูก และใช้เป็นทางน้ําไหล มาสร้างโรงงานหรือที่อยู่อาศัย เพราะเป็น เรื่องที่ฝืนธรรมชาติ 

 “ดังนั้น ในเขตพื้นที่ต่ำหากจะสร้างเขื่อน ก็ต้องสร้างให้มีความแข็งแรง อีกทั้งเมื่อน้ํามาแล้วต้องสามารถไหลออกได้ แต่ เมื่อที่ดินส่วนใหญ่มีราคาแพงการจะปล่อยน้ําให้ไหลไปออกในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งจึงเป็น เรื่องยาก แต่อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการสร้าง หมู่บ้านในลักษณะยกใต้ถุนสูงทั้งหมด เพื่อ เป็นทางระบายน้ํา โดยหมู่บ้านที่ออกแบบ เพื่อรองรับน้ําท่วมนี้ ต้องมีถนนหรือ ช่องทางที่สามารถใช้เพื่อส่งข้าว ส่งน้ํา และ เคลื่อนย้ายคนเข้าออกได้”

 “สําหรับการสร้างบ้านที่ลอยขึ้นลงตามน้ําได้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นวิธีหนึ่งในการต่อสู้น้ําท่วมของหลายประเทศหลายเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ออกกฎหมายให้คนสามารถขออนุญาตก่อสร้างบ้านในน้ํา ได้แล้วเช่นกัน ซึ่งประเทศไทยเองก็ควรเป็น อย่างนั้น ”

สําหรับการเปิดเสรีอาเซียนในอนาคต เมื่อมีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในอาเซียนวิศวกรต่างชาติอาจเข้ามาทํางานในประเทศไทยมากขึ้น แต่วิศวกรไทยส่วนใหญ่ยังไม่สนใจที่จะไปทํางานในต่างประเทศมากนัก เนื่องจากประเทศไทยยังอุดมสมบูรณ์มีงานให้ทําอีกมาก และยิ่งคนไทยไม่สนใจเรียนรู้ที่ จะสื่อสารภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่ 3 ให้ได้ การทํางานร่วมกับนักทุนต่างชาติจึงยิ่งเป็น เรื่องยาก เพราะแม้จะมีทักษะทางวิชาชีพ ดีกว่า แต่ถ้าไม่สามารถสื่อสารกับเขาได้ นักลงทุนต่างชาติก็คงไม่เลือกร่วมงานกับ วิศวกรไทย 

“คนสิงคโปร์นั้นไม่ได้เก่งไปกว่าคนไทย เพียงแต่เขามีโอกาสรู้เห็นในสิ่งที่กว้างกว่าและเรียนรู้ที่จะก้าวให้ทันโลก มากกว่า ขณะที่คนไทยเรียนภาษาอังกฤษ กันมากว่า 10 ปีกลับไม่เห็นผล นั่นเป็น เพราะเราไม่ได้มีโอกาสนำสิ่งที่เรียนมา ใช้จริง พูดจริง แต่ถึงตอนนี้จะบอกให้ คนไทย วิศวกรไทยไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคนอื่นได้ก็อาจยังไม่มีใครสนใจเพราะเขายังไม่เดือดร้อน เมื่อในประเทศยังมีงานอยู่อีกมาก” 

ข้อมูลบริษัท 

ชื่อ : บริษัท วิศวกรที่ปรึกษาต่อตระกูล ยมนาคและคณะ จํากัด (TACE)

ประเภทธุรกิจ : ธุรกิจวิศวกรที่ปรึกษาด้าน Structure Design, Preliminary Study, Project Management, Pre-Construction Management, Construction Supervision, Building Operation & Maintenance และ Cost Control & Estimate 

จํานวนพนักงาน : 70 คน

โครงการปี 2555 : โครงการ “แม่น้ํา เรสซิเดนท์” คอนโดมิเนียมระดับพรีเมียม 59 ชั้น ริมแม่น้ําเจ้าพระยา 

รางวัล/มาตรฐาน :  ISO 9001 : 2008 โดย บริษัท Moody International (Thailand) จํากัด 

Source: https://www.tace.co.th/new/wp-content/uploads/2019/11/100-Companies-.pdf