อาคารหลังแรกของโลก ที่สร้างด้วยคาร์บอนไฟเบอร์คอนกรีต

เปิดสมองมองก่อสร้าง

โดย ต่อตระกูล ยมนาค

อาคารหลังแรกของโลก ที่สร้างด้วยคาร์บอนไฟเบอร์คอนกรีต
     คอนกรีตที่ใช้คาร์บอนไฟเบอร์ เสริมแทนเหล็กจะบางกว่าโครงสร้างคอนกรีตที่เสริมด้วยเหล็กเส้นมาก เพราะคาร์บอนไฟเบอร์ไม่เป็นสนิม และทนไฟ ได้ดี
     มีรูปแบบที่เด่นเห็นได้ชัดคือ เป็นอาคารคอนกรีตดูบางเบาที่บิดโค้งไปได้ตามรูปทรงที่สถาปนิกจะสร้างสรรค์ได้อย่างที่ไม่เคยจะทำได้ง่ายแบบนี้มาก่อน
     สร้าง โดยมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีเดรสเดน( Dresden University of Technology ) ที่ประเทศเยอรมนี นับเป็นอาคารหลังแรกของโลก ที่ทำจากคอนกรีตเสริมแรงด้วยคาร์บอน( Carbon-Reinforced Concrete )ทั้งอาคาร สร้างเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2565

*** ทุกเช้าวันจันทร์พบกับเรื่องราวน่าสนใจในวงการก่อสร้าง ใน “ เปิดสมองมองก่อสร้าง” นำมาเสนอโดยอาจารย์ต่อ

อาคารหลังแรกของโลก ที่ทำจากคอนกรีตเสริมแรงด้วยคาร์บอน( Carbon-Reinforced Concrete )ทั้งอาคารสร้างเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2565
คอนกรีตที่ใช้คาร์บอนไฟเบอร์ เสริมแทนเหล็กจะบางกว่าโครงสร้างคอนกรีตที่เสริมด้วยเหล็กเส้นมาก เพราะคาร์บอนไฟเบอร์ไม่เป็นสนิม และทนไฟ ได้ดี จึงสามารถลดความหนาของคอนกรีตที่ต้องเพิ่มขึ้นเพื่อหุ้มเหล็กให้ไม่เป็นสนิม
ที่สำคัญคือ สามารถสร้างเป็นโครงสร้างที่ บิดโค้งไปได้ตามรูปทรงที่สถาปนิกจะสร้างสรรค์ได้อย่างที่ไม่เคยทำได้ง่ายแบบนี้มาก่อน
คาร์บอนไฟเบอร์ เป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งมากกว่าเหล็ก แต่เบากว่าถึง 5 เท่า ค้นพบและถูกนำมาใช้เป็นเวลานานแต่เพราะมีราคาแพงมากจึงใช้เฉพาะในงานที่พิเศษ เช่นยานอวกาศ เครื่องบินที่บินหลบซ่อนจากเรดาร์ได้ ( Stealth airplane )
มีการใช้เป็นโครงตัวรถแข่ง และรถสปอร์ตหรู